คือ องค์กรที่สามารถใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างชาญฉลาด และสามารถปรับตัวเพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขันอย่างมีเอกลักษณ์ รวมทั้งการสร้างคุณค่าเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าอย่างแท้จริง
ในอดีตโรงงานและเครื่องจักร จะเป็นเครื่องมือที่สำคัญ แต่ในปัจจุบันนี้ การเปลี่ยนแปลงในการพัฒนาทางเทคโนโลยีทำให้คุณค่าทางทรัพย์สินลดลงอย่างรวดเร็ว แต่สิ่งที่สำคัญเพิ่มขึ้น คือ พลังอัจฉริยภาพของคนที่อยู่ในองค์กร ที่จะขับเคลื่อนองค์กรให้ก้าวไปข้างหน้าด้วยความสามารถที่แข่งขันได้ ไม่เฉพาะตลาดในประเทศแต่รวมถึงในตลาดโลกด้วย ดังนั้น พลังอัจฉริยภาพขององค์กรขึ้นอยู่กับการรวมอัจฉริยภาพส่วนบุคคลและสามารถดึงเอาพลังที่ซ่อนเร้นที่มีอยู่มาใช้ได้อย่างสูงสุด และสร้างกระบวนการในการประสานรวม อีกทั้งสามารถพัฒนาให้เกิดการต่อยอดทางนวัตกรรมเพื่อคิดค้นสร้างสรรค์สิ่งใหม่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด พร้อมทั้งมีกระบวนการเรียนรู้และสร้างแนวทางในการปฏิบัติงานอย่างมืออาชีพที่หมั่นพัฒนาปรับปรุงตัวเองอยู่ตลอดเวลาให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ลูกค้า
การสร้างองค์กรอัจฉริยะเป็นกระบวนการที่ต้องต่อเนื่อง เพราะการเรียนรู้และ การประสานที่เกิดขึ้นนั้นจำเป็นที่ต้องมีการหมุนเวียนไปอย่างต่อเนื่อง และต้องมีการปรับปรุงทั้งในทิศทางที่จะนำพาความเก่งขององค์กร การสร้างกระบวนการปลดปล่อยอย่างมีประสิทธิภาพ
เคล็ดลับที่สำคัญก็คือ กระบวนการนี้แบ่งเป็น 5 ขั้นตอนด้วยกันหรือที่เราเรียกกันว่า “กระบวนการที่สร้างความฉลาด” (S-M-A-R-T development process)
S - Strategic Vision and cultural formation การกำหนดวิสัยทัศน์และวัฒนธรรม
M - Manage intelligence empowerment process การเจียระไนพลังที่มีอยู่ภายใน
A - Architect organization competencies การสร้างสถาปัตยกรรมในการปลดปล่อยอัจฉริยภาพ
R - Realign win-win learning system การสร้างระบบการเรียนรู้ขององค์กร
T - Transform wisdom into action สร้างอัจฉริยภาพให้กลายเป็นเอกลักษณ์อย่างเป็นรูปธรรม
S - Strategic Vision and cultural formation (การกำหนดวิสัยทัศน์และวัฒนธรรม) องค์กรที่มีพลังและสามารถประสานอัจฉริยภาพในองค์กรจำเป็นที่จะต้องมีจุดประสงค์และเป้าหมายที่ยิ่งใหญ่ที่จะนำพาให้องค์กรสามารถก้าวไปข้างหน้าด้วยพลังที่สร้างสรรค์จากการปลดปล่อยอัจฉริยภาพของทุกคนในองค์กร ตลอดจนสามารถที่จะสร้างความท้าทายในการปลดปล่อยพลังที่ซ่อนเร้นอยู่ภายในที่ยังไม่ได้ใช้จากบุคคลากรในองค์กรด้วย การสร้างวิสัยทัศน์เป็นศิลปะของผู้นำองค์กรที่ต้องสร้างกุศลโยบายในการประสานพลังแห่งความปรารถนาที่มีอยู่ในตัวบุคคลากรทุกคนไปสู่จุดมุ่งหมายที่กลายเป็นจุดร่วมอันยิ่งใหญ่ ถ้าผู้บริหารระดับสูงสามารถใช้วิสัยทัศน์ได้อย่างถูกต้องแล้วการแลกเปลี่ยนวิสัยทัศน์ร่วมกันจะเป็นเครื่องมือในการสื่อสารพลังอันยิ่งใหญ่ที่อยู่ในใจของคนในองค์กรที่ต้องการจะประสานพลังแห่งอัจฉริยภาพ เพราะถ้าหัวใจขององค์กรยังไม่มีพลังพอ การดึงเอาพลังที่ซ่อนเร้นอยู่ภายในก็เป็นไปได้ยาก เพราะการสื่อสารวิสัยทัศน์ จำเป็นที่ต้องเข้าถึงคนทุกระดับในองค์กรทั้งความท้าทาย ความเชื่อมั่นในแนวทาง คำมั่นสัญญาของทุกคนในองค์กรที่จะสร้างให้เกิดความสำเร็จร่วมกัน ตลอดจนกำลังใจและความกล้าในการสร้างความฝันนั้นให้เกิดเป็นความจริงขึ้นมา นอกเหนือจากเป้าหมายที่คมชัดและมีความหมายแล้ว ค่านิยมและวัฒนธรรมองค์กร ก็เป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้การปลดปล่อยพลังแห่งอัจฉริยภาพขององค์กรเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
M - Manage intelligence empowerment process (การการเจียระไนพลังที่มีอยู่ภายใน) เมื่อองค์กรมีความพร้อมทั้งเป้าหมายที่มีพลังรวมทั้งบรรยากาศและวัฒนธรรมองค์กรที่ส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาอัจฉริยภาพ ผู้บริหารในองค์กรจำเป็นที่จะต้องมีความสามารถในการเจียระไนและปลดปล่อยอัจฉริยภาพของบุคคลากรในองค์กร ทั้งยังต้องสร้างทักษะในการค้นหาพลังที่ซ่อนเร้นอยู่ภายใน องค์กรที่ต้องการสร้างอัจฉริยภาพจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องเสริมสร้างกระบวนการคิดนี้ให้เกิดขึ้นในพนักงานทุกระดับเพื่อให้ทุกคนนำเอาพลังที่มีอยู่ในตัวให้ออกมาใช้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด นอกเหนือจากนั้นแล้วทุกคนก็จะมี Leadership intelligence blueprint หรือพิมพ์เขียวของตัวเองในการพัฒนาภาวะผู้นำซึ่งจะประกอบด้วยความถนัดเชิงอัจฉริยภาพ เป้าหมายที่คมชัดทั้งในระยะยาวและสั้นพร้อมกับเนื้อหาของงานที่ชอบและไม่ชอบ รวมทั้งกลยุทธ์การเจียระไนให้เข้ากับบุคลิกภาพของตัวเอง
มากที่สุด ซึ่งจะทำให้ทุกคนมีความมั่นใจและเห็นแนวทางที่เด่นชัดในการดึงเอาอัจฉริยภาพที่มีอยู่มาใช้ให้สูงสุด
A - Architect organization competencies (การวางสถาปัตยกรรมในปลดปล่อยอัจฉริยภาพ) ถ้าองค์กรมีความพร้อมทั้งเป้าหมายที่ชัดเจน บรรยากาศที่ให้กำลังใจ และเน้นการประสานอัจฉริยภาพ ตลอดจนสร้างพิมพ์เขียวและกระบวนการในการเจียระไนอัจฉริยภาพ องค์กรจำเป็นที่จะต้องสร้าง Methodology หรือ กระบวนการปฏิบัติในการที่จะสร้างระเบียบและการสื่อสารพลังร่วมกัน ตั้งแต่กรอบความคิดในการมองปัญหา การติดสินใจและการหาแนวคิดหาทางเลือก การบริหารการเปลี่ยนแปลง การสื่อสารและสร้างสัมพันธ์ และการประสานการต่อยอดความคิดของทีมงาน
R - Realign win-win learning system (การสร้างระบบการเรียนรู้ขององค์กร) เมื่อองค์กรมีการสร้างความสามารถในการประสานอัจฉริยะให้เป็นหนึ่งเดียว การสร้างระบบของการเรียนรู้และการปรับความสามารถจะทำให้เกิดการต่อยอดของอัจฉริยภาพเพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการใช้อัจฉริยภาพที่มีอยู่อย่างชาญฉลาด เพื่อให้เกิดคุณค่าทั้งภายในองค์กรและภายนอก โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับการลูกค้าคนสำคัญ พนักงานในองค์กร ผู้ถือหุ้นและสังคมโดยส่วนรวมนับเป็นสิ่งที่สำคัญ
T - Transform wisdom into action (สร้างอัจฉริยภาพให้กลายเป็นเอกลักษณ์อย่างเป็นรูปธรรม) กระบวนการสุดท้ายเป็นการรวมรวมเอากระบวนทั้ง 4 หล่อหลอมให้เกิดเป็นปัญญาแก่ผู้ปฏิบิติการ เพื่อสร้างเป็นเอกลักษณ์ของการปฎิบัติงานอย่างเป็นรูปธรรมพนักงานในองค์กร ผู้ถือหุ้นและสังคมโดยส่วนรวมนับเป็นสิ่งที่สำคัญ เพราะการสร้างอัจฉริยภาพขององค์กรทั้งในแนวการสร้างวิสัยทัศน์ วัฒนธรรม การสร้างพิมพ์เขียวในการเจียระไน การสร้างสถาปัตย์กรรมและวางระบบการเรียนรู้ขององค์กร บางครั้งจะเป็นการเปลี่ยนแปลงที่มีอยู่หลายมิติด้วยกัน ถ้าไม่มีการวางแผนการเปลี่ยนแปลงอย่างเป็นระบบแล้วอาจเกิดการต่อต้านหรือเกิดความยากลำบากในการปรับตัวเข้ากับประบวนการคิดใหม่ ๆ
" สิ่งที่สำคัญในการต่อยอดอัจฉริยภาพก็คือการสร้างพื้นฐานของความสัมพันธ์ที่แนบแน่น การเข้าถึงจิตใจและสร้างสายสัมพันธ์ รวมทั้งการสร้างบัญชีแห่งความประทับใจที่เต็มเปี่ยมไปด้วยสัมพันธภาพที่ดี "
อ้างอิง APIC Leadership Series 2000
03 มีนาคม 2552
16 มกราคม 2552
Supply Chain ห่วงโซ่อุปทาน
คือ การปฏิสัมพันธ์ของการใช้ระบบของหน่วยงาน คน เทคโนโลยี กิจกรรม ข้อมูลข่าวสาร และทรัพยากร เพื่อการเคลื่อนย้ายสินค้าหรือบริการ จากผู้จัดหาหรือผู้ผลิตไปยังลูกค้า กิจกรรมของห่วงโซ่อุปทานจะแปรสภาพทรัพยากรธรรมชาติ วัตถุดิบ และวัสดุอื่นๆให้กลายเป็นสินค้าสำเร็จ แล้วส่งไปจนถึงลูกค้าคนสุดท้าย ในเชิงปรัชญาของห่วงโซ่อุปทานนั้น วัสดุที่ถูกใช้แล้ว อาจจะถูกนำกลับมาใช้ใหม่ที่จุดไหนของห่วงโซ่อุปทานก็ได้ ซึ่งจะประกอบไปด้วย กระบวนการวางแผนการผลิต และกิจกรรมทางการตลาด หรือกล่าวได้อีกนัยหนึ่งว่า Supply Chain ก็คือ การผลิตสินค้าและบริการอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า ที่ต้องการวัตถุดิบหรือชิ้นส่วนจากผู้ขายมาเป็นปัจจัยนำเข้าเพื่อให้ฝ่ายผลิตใช้ ทำการผลิตให้เป็นสินค้าสำเร็จรูปแล้วส่งให้ลูกค้า ซึ่งกิจกรรมการป้อนวัตถุดิบ กิจกรรมการแปรสภาพ และกิจกรรมการจัดจำหน่ายสินค้าสำเร็จรูปแก่ลูกค้าได้บังเกิดขึ้นในเครือข่ายที่โยงใยหลายกิจการมาเกี่ยวข้องกัน โดยมีการดำเนินการต่อเนื่องกัน โดยทั่วไปแล้วจุดเริ่มต้นของห่วงโซ่มักจะมาจากทรัพยากรธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็นทรัพยากรทางชีววิทยาหรือนิเวศวิทยา ผ่านกระบวนการแปรรูปโดยมนุษย์ผ่านกระบวนการสกัด และการผลิตที่เกี่ยวข้อง เช่น การก่อโครงร่าง, การประกอบ หรือการรวมเข้าด้วยกัน ก่อนจะถูกส่งไปยังโกดัง หรือคลังวัสดุ โดยทุกครั้งที่มีการเคลื่อนย้าย ปริมาณของสินค้าก็จะลดลงทุกๆครั้ง และไกลกว่าจุดกำเนิดของมัน และท้ายที่สุดก็ถูกส่งไปถึงมือผู้บริโภค
ห่วงโซ่อุปทาน ประกอบด้วย
1. ผู้จัดจ่ายวัตถุดิบ/ส่วนประกอบ (Raw Material/ component suppliers) เช่น เกษตรกรที่ปลูกมันสำปะหลัง หรือ ปาล์ม
2. ผู้ผลิต (Manufacturers) เช่น โรงงานที่รับมันสำปะหลังมาแปรรูป มาเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ
3. ผู้ค้าส่ง/ผู้กระจายสินค้า (Wholesalers/distributors) คือ ผู้ที่นำสินค้ามาขายให้ผู้บริโภค หรือส่งต่อให้ผู้ค้าปลีก
4. ผู้ค้าปลีก (Retailers) คือ พ่อค้าที่นำสินค้าหรือบริการที่รับซื้อมาจากผู้ค้าส่งมาขายต่อให้ผู้บริโภค
5. ผู้บริโภค (Customers)
กิจกรรมหลักของห่วงโซ่อุปทาน คือ
1. การจัดหา 2. การขนส่ง 3. การจัดเก็บ 4. การกระจายสินค้า
ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อ Supply Chain
1. การลดลงของจำนวนผู้จำหน่าย
2. การเพิ่มขึ้นของการแข่งขัน
3. ระยะเวลาที่สิ้นลงของวงจรชีวิตของสินค้า
4. การเพิ่มขึ้นของผู้จัดการสิ้นค้าคงคลัง
5. การเพิ่มขึ้นของการส่งสินค้าคงคลัง
6. ความเจริญก้าวหน้าของเทคโนโลยี
7. การลดลงของความเสี่ยง
อ้างอิงจาก วีกิพีเดีย,การจัดการอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง,V-servegroup โดยคุณธนิต โสรัตน์
ห่วงโซ่อุปทาน ประกอบด้วย
1. ผู้จัดจ่ายวัตถุดิบ/ส่วนประกอบ (Raw Material/ component suppliers) เช่น เกษตรกรที่ปลูกมันสำปะหลัง หรือ ปาล์ม
2. ผู้ผลิต (Manufacturers) เช่น โรงงานที่รับมันสำปะหลังมาแปรรูป มาเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ
3. ผู้ค้าส่ง/ผู้กระจายสินค้า (Wholesalers/distributors) คือ ผู้ที่นำสินค้ามาขายให้ผู้บริโภค หรือส่งต่อให้ผู้ค้าปลีก
4. ผู้ค้าปลีก (Retailers) คือ พ่อค้าที่นำสินค้าหรือบริการที่รับซื้อมาจากผู้ค้าส่งมาขายต่อให้ผู้บริโภค
5. ผู้บริโภค (Customers)
กิจกรรมหลักของห่วงโซ่อุปทาน คือ
1. การจัดหา 2. การขนส่ง 3. การจัดเก็บ 4. การกระจายสินค้า
ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อ Supply Chain
1. การลดลงของจำนวนผู้จำหน่าย
2. การเพิ่มขึ้นของการแข่งขัน
3. ระยะเวลาที่สิ้นลงของวงจรชีวิตของสินค้า
4. การเพิ่มขึ้นของผู้จัดการสิ้นค้าคงคลัง
5. การเพิ่มขึ้นของการส่งสินค้าคงคลัง
6. ความเจริญก้าวหน้าของเทคโนโลยี
7. การลดลงของความเสี่ยง
อ้างอิงจาก วีกิพีเดีย,การจัดการอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง,V-servegroup โดยคุณธนิต โสรัตน์
การบริหารจัดการความสัมพันธ์กับลูกค้า
Customer Relationship Management
CRM หมายถึง การสร้างความสัมพันธ์อันดีกับลูกค้า ทำให้ลูกค้าพึงพอใจกับสินค้า หรือบริการให้มากที่สุด และมีเชื่อมั่น ไว้วางใจที่จะใช้สินค้าหรือบริการต่อไปจนเรียกได้ว่าเป็นลูกค้าประจำ ซึ่งต้องอาศัยระยะเวลาพอสมควรในการสร้างสมประสบการณ์ เพื่อสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้เข้าไปอยู่ในใจของลูกค้า สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งสำคัญในการรักษาลูกค้าเก่าให้คงอยู่ตลอดไป ซึ่งกลุ่มลูกค้าเหล่านี้เมื่อเป็นลูกค้ามาเป็นระยะเวลานานก็จะบอกต่อเป็นการสร้างลูกค้าใหม่ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตต่อไป โดยไม่จำเป็นต้องใช้เงินลงทุนและสร้างกลุ่มลูกค้าใหม่ขึ้นมาเอง
CRM เป็นระบบที่ช่วยให้องค์กรสามารถเข้าถึงจุดที่เป็นความต้องการของลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพเนื่องจากลูกค้ามองทั้งบริษัทเป็นเพียงหน่วยงานเดียว ซึ่งเรื่องนี้พนักงานบริการลูกค้าทราบดี เพราะเมื่อใดก็ตามที่ลูกค้าติดต่อธุรกิจทางอีเมล์ แฟกซ์ หรือคุยตรงกับพนักงานบริษัท ปฏิสัมพันธ์เหล่านี้ ถือเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างความประทับใจของลูกค้าที่มีต่อธุรกิจ ขณะเดียวกันยังเป็นวิธีสนองความต้องการของลูกค้าตามคำมั่นสัญญาที่ให้ไว้ด้วย ดังนั้นเป้าหมายสูงสุดของระบบ CRM ก็คือ การเติบโตของธุรกิจที่มีผลกำไรด้วยการนำเสนอสินค้าและบริการที่เหมาะสมให้กับกลุ่มลูกค้าที่ต้องการ ผ่านช่องทางที่ถูกต้อง เหมาะสมกับจังหวะเวลา ภายใต้ต้นทุนที่สมเหตุสมผล
หลักการสำคัญของ CRM
1. ปลูกจิตสำนึก
กระบวนการ CRM ควรเริ่มจากบุคคลภายในองค์กรก่อน พนักงานทุกระดับต้องมีใจร่วมกัน และพร้อมที่จะสร้าง CRM ให้เกิดขึ้น นับตั้งแต่พนักงานระดับล่าง ไม่ว่าจะเป็นพนักงานรักษาความปลอดภัย พนักงานรับโทรศัพท์ พนักงานต้อนรับ พนักงานในฝ่ายต่าง ๆ จนกระทั่งผู้บริหารระดับสูง เช่น เมื่อลูกค้าเข้ามาภายในบริษัท พนักงานรักษาความปลอดภัยจะเป็นด่านแรกที่จะถูกสอบถามข้อมูลเบื้องต้นจากลูกค้า ดังนั้นการมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี ยิ้มแย้มแจ่มใส การแต่งกายจะต้องสุภาพเรียบร้อย เป็นผู้ที่สามารถให้ข้อมูลเบื้องต้นแก่ลูกค้าได้ไม่ต้องรอสอบถามจากฝ่ายอื่น ๆ หรือต้องมีเครื่องมืออื่น ๆ ที่ช่วยในการสืบค้นอย่างรวดเร็ว หรือพนักงานรับโทรศัพท์จะต้องเป็นผู้ที่สามารถตอบคำถามได้ทุก ๆ เรื่อง ไม่ใช่มีการโอนสายถามกันไปจนกระทั่งสายหลุดไปอย่างที่ผู้บริโภคในปัจจุบันกำลังประสบอยู่จากหลาย ๆ องค์กร เหล่านี้เป็นเพียงบางส่วนที่พนักงานจะต้องรับผิดชอบในงานหน้าที่ของตนเอง เพื่อเป็นการสร้างความประทับใจให้กับลูกค้าในเบื้องต้น
2. วิเคราะห์ความต้องการเบื้องต้นของลูกค้า
องค์กรต้องมองย้อนกลับไปในฐานะที่ตนเองเป็นลูกค้า ว่าถ้าเราเป็นผู้บริโภคที่มาซื้อสินค้า เราต้องการอะไร เพื่อให้คุ้มค่ากับเงินที่เราจ่ายไป ซึ่งก็คือการเอาใจเขามาใส่ใจเรานั่นเอง
3. เก็บรวบรวมข้อมูล
การสำรวจข้อมูลต่าง ๆ ของลูกค้าว่าลูกค้าแต่ละรายมีความต้องการอะไร โดยต้องมอง ให้เห็นความแตกต่างของลูกค้าแต่ละราย เช่น วันเกิดของลูกค้า บริษัทมีการส่งการ์ดอวยพรไปให้ และในการสร้างความซาบซึ้งแก่ลูกค้านั้น บริษัทต้องทราบข้อมูลด้านลึกของลูกค้าด้วย ยกตัวอย่างเช่น พัดชาเป็นสาวโสดชอบสีฟ้าเป็นที่สุด มาช่าเป็นสาวเซ็กซี่ที่มีลูกแล้ว สีโปรด คือ สีแดง การเขียนคำอวยพรในการ์ดของแต่ละบุคคลจะต้องแตกต่างตามสถานภาพและความชื่นชอบ
4. จัดทำฐานข้อมูล
เมื่อสำรวจและเก็บรวบรวมข้อมูลเรียบร้อยแล้ว ต้องมีการจัดเก็บให้เป็นระบบ สามารถดึงข้อมูลไปใช้งานได้โดยสะดวก ซึ่งผู้บริหารจะต้องเห็นถึงความสำคัญในการลงทุนด้านเทคโนโลยีต่าง ๆ เพื่อนำมาช่วยในการจัดเก็บข้อมูลให้เป็นระบบ รวมทั้งการลงทุนในส่วนที่เกี่ยวกับบุคลากรที่รับผิดชอบในส่วนงานดังกล่าวด้วย
ในการสร้าง CRM ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด แต่ละองค์กรจะต้องคำนึงถึง
· การกำหนดกลยุทธ์ลูกค้า ในการกำหนดกลยุทธ์ลูกค้านั้น เราจะต้องมีความเข้าใจอย่างถ่องแท้ต่อลูกค้าใน Segment นั้นๆ และต้องเข้าใจลึกซึ้งถึงความต้องการที่แท้จริงของเขาด้วย
· การกำหนดหรือสร้าง กลยุทธ์ทางช่องทางและกลยุทธ์ของผลิตภัณฑ์ หมายความว่า องค์กรจะต้องรู้ว่าจะสื่อสารหรือเคลื่อนย้ายสินค้าและบริการ ผ่านช่องทางไหนที่ดีที่สุด เพื่อให้แน่ใจว่าจะก่อให้เกิดประสิทธิภาพของการขาย และประสิทธิภาพของการบริหารช่องทางต่างๆ ได้ดีที่สุด
· มีความเข้าใจถึงความสำคัญอย่างถ่องแท้ของการบูรณาการของกลยุทธ์โครงสร้างพื้นฐานทาง IT หมายถึง การสร้างสภาพแวดล้อมที่มีความเอื้ออำนวยต่อการเชื่อมความสัมพันธ์กับลูกค้า และสามารถบริการให้ลูกค้าเกิดความพอใจสูงสุดในความต้องการของเขา เพราะเราจะต้องบริการลูกค้าทั้งในเชิงรุก และดูแลลูกค้าในเชิงรับ ด้วยประสิทธิภาพโดยการนำเอา IT เข้ามาใช้
อ้างอิงจาก : http://www.moonlightsolution.com/ , http://www.na-vigator.com/ , : http://www.hu.ac.th/
CRM หมายถึง การสร้างความสัมพันธ์อันดีกับลูกค้า ทำให้ลูกค้าพึงพอใจกับสินค้า หรือบริการให้มากที่สุด และมีเชื่อมั่น ไว้วางใจที่จะใช้สินค้าหรือบริการต่อไปจนเรียกได้ว่าเป็นลูกค้าประจำ ซึ่งต้องอาศัยระยะเวลาพอสมควรในการสร้างสมประสบการณ์ เพื่อสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้เข้าไปอยู่ในใจของลูกค้า สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งสำคัญในการรักษาลูกค้าเก่าให้คงอยู่ตลอดไป ซึ่งกลุ่มลูกค้าเหล่านี้เมื่อเป็นลูกค้ามาเป็นระยะเวลานานก็จะบอกต่อเป็นการสร้างลูกค้าใหม่ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตต่อไป โดยไม่จำเป็นต้องใช้เงินลงทุนและสร้างกลุ่มลูกค้าใหม่ขึ้นมาเอง
CRM เป็นระบบที่ช่วยให้องค์กรสามารถเข้าถึงจุดที่เป็นความต้องการของลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพเนื่องจากลูกค้ามองทั้งบริษัทเป็นเพียงหน่วยงานเดียว ซึ่งเรื่องนี้พนักงานบริการลูกค้าทราบดี เพราะเมื่อใดก็ตามที่ลูกค้าติดต่อธุรกิจทางอีเมล์ แฟกซ์ หรือคุยตรงกับพนักงานบริษัท ปฏิสัมพันธ์เหล่านี้ ถือเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างความประทับใจของลูกค้าที่มีต่อธุรกิจ ขณะเดียวกันยังเป็นวิธีสนองความต้องการของลูกค้าตามคำมั่นสัญญาที่ให้ไว้ด้วย ดังนั้นเป้าหมายสูงสุดของระบบ CRM ก็คือ การเติบโตของธุรกิจที่มีผลกำไรด้วยการนำเสนอสินค้าและบริการที่เหมาะสมให้กับกลุ่มลูกค้าที่ต้องการ ผ่านช่องทางที่ถูกต้อง เหมาะสมกับจังหวะเวลา ภายใต้ต้นทุนที่สมเหตุสมผล
หลักการสำคัญของ CRM
1. ปลูกจิตสำนึก
กระบวนการ CRM ควรเริ่มจากบุคคลภายในองค์กรก่อน พนักงานทุกระดับต้องมีใจร่วมกัน และพร้อมที่จะสร้าง CRM ให้เกิดขึ้น นับตั้งแต่พนักงานระดับล่าง ไม่ว่าจะเป็นพนักงานรักษาความปลอดภัย พนักงานรับโทรศัพท์ พนักงานต้อนรับ พนักงานในฝ่ายต่าง ๆ จนกระทั่งผู้บริหารระดับสูง เช่น เมื่อลูกค้าเข้ามาภายในบริษัท พนักงานรักษาความปลอดภัยจะเป็นด่านแรกที่จะถูกสอบถามข้อมูลเบื้องต้นจากลูกค้า ดังนั้นการมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี ยิ้มแย้มแจ่มใส การแต่งกายจะต้องสุภาพเรียบร้อย เป็นผู้ที่สามารถให้ข้อมูลเบื้องต้นแก่ลูกค้าได้ไม่ต้องรอสอบถามจากฝ่ายอื่น ๆ หรือต้องมีเครื่องมืออื่น ๆ ที่ช่วยในการสืบค้นอย่างรวดเร็ว หรือพนักงานรับโทรศัพท์จะต้องเป็นผู้ที่สามารถตอบคำถามได้ทุก ๆ เรื่อง ไม่ใช่มีการโอนสายถามกันไปจนกระทั่งสายหลุดไปอย่างที่ผู้บริโภคในปัจจุบันกำลังประสบอยู่จากหลาย ๆ องค์กร เหล่านี้เป็นเพียงบางส่วนที่พนักงานจะต้องรับผิดชอบในงานหน้าที่ของตนเอง เพื่อเป็นการสร้างความประทับใจให้กับลูกค้าในเบื้องต้น
2. วิเคราะห์ความต้องการเบื้องต้นของลูกค้า
องค์กรต้องมองย้อนกลับไปในฐานะที่ตนเองเป็นลูกค้า ว่าถ้าเราเป็นผู้บริโภคที่มาซื้อสินค้า เราต้องการอะไร เพื่อให้คุ้มค่ากับเงินที่เราจ่ายไป ซึ่งก็คือการเอาใจเขามาใส่ใจเรานั่นเอง
3. เก็บรวบรวมข้อมูล
การสำรวจข้อมูลต่าง ๆ ของลูกค้าว่าลูกค้าแต่ละรายมีความต้องการอะไร โดยต้องมอง ให้เห็นความแตกต่างของลูกค้าแต่ละราย เช่น วันเกิดของลูกค้า บริษัทมีการส่งการ์ดอวยพรไปให้ และในการสร้างความซาบซึ้งแก่ลูกค้านั้น บริษัทต้องทราบข้อมูลด้านลึกของลูกค้าด้วย ยกตัวอย่างเช่น พัดชาเป็นสาวโสดชอบสีฟ้าเป็นที่สุด มาช่าเป็นสาวเซ็กซี่ที่มีลูกแล้ว สีโปรด คือ สีแดง การเขียนคำอวยพรในการ์ดของแต่ละบุคคลจะต้องแตกต่างตามสถานภาพและความชื่นชอบ
4. จัดทำฐานข้อมูล
เมื่อสำรวจและเก็บรวบรวมข้อมูลเรียบร้อยแล้ว ต้องมีการจัดเก็บให้เป็นระบบ สามารถดึงข้อมูลไปใช้งานได้โดยสะดวก ซึ่งผู้บริหารจะต้องเห็นถึงความสำคัญในการลงทุนด้านเทคโนโลยีต่าง ๆ เพื่อนำมาช่วยในการจัดเก็บข้อมูลให้เป็นระบบ รวมทั้งการลงทุนในส่วนที่เกี่ยวกับบุคลากรที่รับผิดชอบในส่วนงานดังกล่าวด้วย
ในการสร้าง CRM ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด แต่ละองค์กรจะต้องคำนึงถึง
· การกำหนดกลยุทธ์ลูกค้า ในการกำหนดกลยุทธ์ลูกค้านั้น เราจะต้องมีความเข้าใจอย่างถ่องแท้ต่อลูกค้าใน Segment นั้นๆ และต้องเข้าใจลึกซึ้งถึงความต้องการที่แท้จริงของเขาด้วย
· การกำหนดหรือสร้าง กลยุทธ์ทางช่องทางและกลยุทธ์ของผลิตภัณฑ์ หมายความว่า องค์กรจะต้องรู้ว่าจะสื่อสารหรือเคลื่อนย้ายสินค้าและบริการ ผ่านช่องทางไหนที่ดีที่สุด เพื่อให้แน่ใจว่าจะก่อให้เกิดประสิทธิภาพของการขาย และประสิทธิภาพของการบริหารช่องทางต่างๆ ได้ดีที่สุด
· มีความเข้าใจถึงความสำคัญอย่างถ่องแท้ของการบูรณาการของกลยุทธ์โครงสร้างพื้นฐานทาง IT หมายถึง การสร้างสภาพแวดล้อมที่มีความเอื้ออำนวยต่อการเชื่อมความสัมพันธ์กับลูกค้า และสามารถบริการให้ลูกค้าเกิดความพอใจสูงสุดในความต้องการของเขา เพราะเราจะต้องบริการลูกค้าทั้งในเชิงรุก และดูแลลูกค้าในเชิงรับ ด้วยประสิทธิภาพโดยการนำเอา IT เข้ามาใช้
อ้างอิงจาก : http://www.moonlightsolution.com/ , http://www.na-vigator.com/ , : http://www.hu.ac.th/
01 มกราคม 2552
เตรียมรับมือมหาวิกฤต
บทความ วันที่ 01 มกราคม พ.ศ. 2552 ในหนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ ปีที่ 32 ฉบับที่ 4067
เปิดกลยุทธ์ "นักการตลาด" ยุคใหม่ รับมือมหาวิกฤตยุคโลกาภิวัตน์ ท่ามกลางความซบเซาทางเศรษฐกิจ เหล่านักการตลาดและนักขายต่างถูกสั่งให้ทำอะไรๆ มากกว่าเดิม โดยใช้เม็ดเงินน้อยลง แต่ธรรมชาติของภาวะชะลอตัวปัจจุบัน ผนวกกับการเปลี่ยนแปลงทางการขายและการตลาดในช่วงถดถอยปี 2544-2545 ชี้ให้เห็นว่า คนที่อาศัยเทคนิคการอยู่รอดสมัยเศรษฐกิจชะลอตัวในอดีต อาจเสี่ยงไป เดิมพันในตลาด ลูกค้า เครื่องมือโฆษณา หรือการขายที่ผิดได้เช่นกันช่วงเศรษฐกิจชะลอตัวที่ผ่านมา นักการตลาดจำนวนมากทุ่มเงินไปกับกลุ่มลูกค้า ภูมิภาค และตลาดขนาดใหญ่ที่เคยทำกำไรในอดีต แต่วันนี้ แนวทางนั้นอาจไม่มีประสิทธิภาพ เพราะวิกฤตเศรษฐกิจโลกกำลังกระทบต่อลูกค้าและตลาดอย่างรุนแรงแบบไม่คาดคิดมาก่อน ดังนั้นนักการตลาดควรทิ้งความคาดหวังเก่า และหันมาเน้นกระเป๋าของลูกค้าใหม่บ้างโดยทั่วไปในช่วงรัดเข็มขัด นักการตลาดจะเน้นสื่อดั้งเดิม เช่น โฆษณาทางโทรทัศน์และหนังสือพิมพ์ พร้อมหั่นรายจ่ายในสื่อโฆษณาแบบใหม่ แต่การตลาดที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในทศวรรษที่ผ่านมา ซึ่งสื่อแบบเก่าเริ่มมีความสำคัญน้อยลง ขณะที่อินเทอร์เน็ตและเครือข่ายสังคม (social networking) เริ่มจับกลุ่มเป้าหมายได้มากยิ่งขึ้น ทำให้นักการตลาดที่ มุ่งจัดสรรงบฯด้านสื่ออย่างมีเหตุผล จำเป็นต้องนำสมดุลใหม่นี้ไปประกอบการตัดสินใจเมื่อต้องเดินแผนรัดเข็มขัด อย่างไรก็ตาม เดวิด คอร์ท ผู้อำนวยการแมคคินซีย์ สำนักงานดัลลัส ระบุในบทความเรื่อง "The Downturn"s New Rules for Marketers" ว่า แน่นอนว่า ไม่ใช่ว่าทุกอย่างจากอดีตจะล้าสมัยหรือ ไร้ประโยชน์ทั้งหมด แต่นักการตลาดจะต้องตรวจสอบและประเมินข้อเสนอทรงคุณค่าของแบรนด์ ผลิตภัณฑ์ และราคาใหม่ พร้อมกับบริหารต้นทุนของเอเยนซี่สื่อและ ผู้จัดจำหน่ายอย่างรอบคอบนอกจากนี้หากต้องการฟันฝ่าพายุเศรษฐกิจครั้งนี้ไปอย่างปลอดภัยพวกเขาจำเป็นต้องระบุว่าใครคือลูกค้าชั้นดี และอยู่ที่ไหน เพื่อเดินแผน การตลาดและการขายที่มีประสิทธิภาพที่สุดเพื่อเข้าถึงคนกลุ่มนี้ผลกระทบจากภาวะถดถอยมักแตกต่างกันตามเขตเศรษฐกิจต่างๆ เพราะอัตรา คนว่างในแต่ละภูมิภาคเพิ่มขึ้นต่างกัน และวิกฤตครั้งนี้กำลังกระทบพื้นที่และกลุ่มคนแตกต่างกันและซับซ้อนกว่าเดิมมาก มาดูว่า นักการตลาดยุคนี้ ต้องรับมือกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างไรบ้างปรับลำดับความสำคัญของตลาดเชิงภูมิศาสตร์ใหม่เหล่าบริษัทข้ามชาติจะต้องประเมิน คาดการณ์การเติบโตใหม่ในประเทศที่ต้องเข้าไปแข่งขัน บทความชิ้นนี้ยกตัวอย่างว่า บริษัทเทคโนโลยีระดับโลกรายหนึ่ง เพิ่งปรับที่มั่นใหม่ โดยโยกการใช้จ่ายการตลาดจากประเทศพัฒนาแล้วมายังตลาดเกิดใหม่ที่คาดว่าจะมีการเติบโตสูงกว่า และมีแรงกดดันทางการแข่งขันน้อยกว่า
ขณะเดียวกันนักการตลาดผู้บริโภคที่มีข้อมูลตลาดขนาดเล็ก จะมีโอกาสมากกว่าที่จะเพิ่มผลกำไร อย่างเช่น บริษัทเครื่องดื่มรายหนึ่ง เพิ่งสำรวจ เพื่อระบุความแตกต่างที่เหลื่อมล้ำกันของกลุ่มลูกค้าทำกำไร ทั้งในตลาดเฉพาะและตลาดขนาดเล็ก ซึ่งข้อมูลเหล่านี้จะช่วยให้บริษัทสามารถเพิ่มผลกำไรได้สูงสุด โดยเน้นตลาดขนาดเล็กที่มีความอ่อนไหวเรื่องราคาน้อย พร้อมกับเสนอส่วนลด หรือสินค้าราคาจูงใจ ในเขตอื่นๆ เพื่อกระตุ้นยอดขายจัดลำดับความสำคัญของกลุ่มลูกค้าใหม่การทำกำไรส่วนใหญ่ในภูมิภาคและตลาดขนาดเล็กต่างๆ เปลี่ยนแปลงไป ความผันผวนของอัตราคนว่างงาน ราคาหุ้น บ้าน และน้ำมัน เปลี่ยนแปลงการทำกำไรในกลุ่มผู้บริโภคต่างๆ ทั้งนี้ในหลายกรณี พบว่าการเปลี่ยนพฤติกรรมของ ผู้บริโภคกดดันให้บริษัทต้องปรับแผนการตลาดจากภาคส่วนที่เคยดึงดูดใจในอดีตใหม่ ขณะที่บางกลุ่มที่เคยเป็นลูกค้าที่สำคัญต่อการเติบโตของยอดขายกลับกลายเป็นกลุ่มที่บริษัททำกำไรได้น้อยลง เช่น เหล่ามืออาชีพรุ่นใหม่ที่จำนวนมากทำงานในธุรกิจการเงิน อาจไม่สามารถช่วยกระตุ้นยอดขายสินค้าหรูได้เหมือนในอดีตนอกจากนี้ ภาวะช็อกจากวิกฤตเศรษฐกิจ อาจปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้จ่ายและความน่าดึงดูดใจของลูกค้าบางกลุ่มเป็นช่วงนานกว่าเดิม เช่น คนรุ่นเบบี้บูมในสหรัฐ ญี่ปุ่น และยุโรปตะวันตก ที่ผ่านมาการใช้จ่ายสูงของคนกลุ่มนี้ทำให้พวกเขาเป็นกลุ่มลูกค้าชั้นดี ที่บริษัทต่างๆ ถวิลหา แต่วิกฤตอสังหาริมทรัพย์ และราคาหุ้นที่ร่วงลง ซึ่งส่งผลกระทบต่อบัญชีบำนาญของคนรุ่นนี้ ทำให้พวกเขาต้องรัดเข็มขัดมากขึ้น เพราะกำลังเผชิญกับอนาคตหลังเกษียณที่ไม่มั่นคง ทำให้ไม่สามารถใช้จ่ายมือเติบได้เหมือนเดิมจากผลสำรวจของแมคคินซีย์ เมื่อปี 2549 ที่ถามว่า เขาจะลดค่าใช้จ่ายลง 20% ได้อย่างไร พบว่าคนกลุ่มนี้จะลดการใช้จ่ายด้านเสื้อผ้า ของใช้ส่วนตัว ของตกแต่งบ้าน และการท่องเที่ยว เป็นอันดับต้นๆ แต่มีแนวโน้มปรับลดค่าใช้จ่ายในสิ่งจำเป็นอื่นๆ น้อย เช่น อาหาร บ้าน และสุขภาพ ปรับลำดับความสำคัญของโอกาส B2B บริษัทที่ทำธุรกิจแบบ B2B ต้องก้าวล้ำกว่าเดิม โดยจำเป็นต้องประเมินโอกาสและความเสี่ยงของลูกค้าเป็นรายๆ ไป เช่น กระแสเงินสด สภาพคล่อง และการเข้าถึงแหล่งทุนของลูกค้าแต่ละราย ดังนั้นจึงถึงเวลาที่บริษัทต้องเดินเกมรุก ไม่ว่าจะเป็นการควบคุมต้นทุน เจรจาเงินคืนภาษีใหม่ และกระตุ้นการสั่งซื้อสินค้าที่มีประสิทธิภาพ
ปรับลำดับความสำคัญของสื่อโฆษณาสื่อโฆษณาใหม่ เช่น อินเทอร์เน็ต เครือข่ายสังคม และโทรศัพท์มือถือ มีขอบข่ายใหญ่ขึ้น และสร้างผลลัพธ์ที่มี ประสิทธิภาพ ขณะที่สื่อร่วมสมัย เช่น โทรทัศน์ เริ่มมีอิทธิพลน้อยลง แต่ค่าใช้จ่ายสูงขึ้น ดังนั้นแผนการตลาดส่วนใหญ่จึงมุ่งตอบสนองเป้าหมายคุ้มค่าเงิน โดยอาศัยการผสมผสานของสื่อโฆษณาทั้งเก่าและใหม่ โดยจะใช้จ่ายงบฯราว 10-15% ไปกับโฆษณาผ่านสื่อแบบใหม่ทั้งนี้บริษัทสามารถเพิ่มความถูกต้อง ของการประเมินคุณภาพสื่อได้ด้วยการรวบรวมข้อมูลจากแหล่งต่างๆ เช่น สำรวจผู้บริโภคเชิงปริมาณ สำรวจความคิดเห็นโฟกัส กรุ๊ป หลังกิจกรรมการตลาดต่างๆ และการจัดเวิร์กช็อป รับฟังความคิดเห็นหลากหลายจากผู้จัดการฝ่ายการตลาด และผู้เชี่ยวชาญภายนอกจากวงการโฆษณาและเอเยนซี่สื่อ ที่ผ่านมา ยักษ์ใหญ่วงการสินค้าอุปโภคบริโภคส่วนหนึ่งที่จัดเวิร์กช็อป พบว่าข้อมูลจากส่วนนี้สอดคล้องกับข้อมูลที่เก็บจากการสำรวจเน้นปริมาณที่มุ่งหาข้อมูลเชิงลึกด้วยและไม่ว่าบริษัทจะได้ผลการประเมินคุณภาพสื่ออย่างไร อำนาจที่แท้จริงอยู่ที่การผนวกผลการวิเคราะห์เข้ากับข้อมูล การเข้าถึงลูกค้าและต้นทุนของสื่อโฆษณา เพื่อช่วยให้สามารถเปรียบเทียบอิทธิพล ของสื่อต่างๆ ได้อย่างชัดเจน ซึ่งเป็นกุญแจสำคัญของการจัดลำดับความสำคัญอย่างมีประสิทธิภาพปรับอันดับความสำคัญของบทบาทฝ่ายขายใหม่สิ่งที่เห็นกันเสมอในยุคเศรษฐกิจตกสะเก็ด ก็คือ บริษัทพยายามเพิ่มผลกำไร ด้วยการลดค่าใช้จ่ายต่างๆ ของฝ่ายขาย พร้อมเน้นความสำคัญของฝ่ายขายแนวหน้า แต่ทุกวันนี้ ทีมขายต้องอาศัยการสนับสนุนรูปแบบใหม่ ซึ่งมีความสำคัญมากเกินกว่าที่จะปรับลดโดยอำเภอใจ สิ่งเหล่านี้มีบทบาทเชิงกลยุทธ์ในกระบวนการขาย และมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการบริการลูกค้าทำกำไร และจูงใจลูกค้าใหม่ ดังนั้นผู้บริหารที่เดินแผนหั่นต้นทุนรวม โดยตั้งเป้าตัดรายจ่ายส่วนนี้ อาจเผชิญกับความเสี่ยงอย่างยิ่งที่จะทำลายประสิทธิภาพของฝ่ายขายเมื่อมาดูการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในบริษัทบริการอุตสาหกรรมแห่งหนึ่ง พบว่าเมื่อ 10 ปีก่อน 90% ของพนักงานขายต้องรับผิดชอบทั้งดูแลลูกค้าและลง พื้นที่ แต่มีการสนับสนุนค่อนข้างจำกัด ซึ่งอยู่ในรูปแบบของการฝึกอบรมการขาย แผ่นพับข้อมูลผลิตภัณฑ์ และผู้เชี่ยวชาญด้านผลิตภัณฑ์จำนวนหนึ่งเท่านั้น ต่อมาบริษัทได้เพิ่มผู้เชี่ยวชาญด้านผลิตภัณฑ์จำนวนอีกมาก เพราะลูกค้าต้องการรับความช่วยเหลือจากคนกลุ่มนี้มากขึ้น ขณะที่บริษัทมีไลน์สินค้าเพิ่มขึ้นเช่นกัน หลังจากนั้นบริษัทยังจ้างพนักงานเจรจาสัญญา ผู้จัดการฝ่ายขายเฉพาะอุตสาหกรรม ตลอดจนตัวแทนเทเล มาร์เก็ตติ้ง ซึ่งบุคลากรเหล่านี้ช่วยเพิ่มโอกาสใหม่ๆ แก่ธุรกิจแต่ในวิกฤตปัจจุบัน ผู้อำนวยการฝ่ายขายขององค์กรนี้จำเป็นต้องหั่นต้นทุนลง 10% การลดจำนวนผู้เชี่ยวชาญด้านผลิตภัณฑ์ ผู้จัดการอุตสาหกรรม และฝ่ายเทเลมาร์เก็ตติ้ง อาจทำให้การสร้างโอกาสใหม่ๆ ลดลง แต่ยอดขายจะลดฮวบมากกว่านั้น หากบริษัทตัดสินใจลดจำนวน พนักงานขายหรือผู้จัดการดูแลลูกค้า เช่นเดียวกับการลดทีมวิเคราะห์คู่แข่งและราคา ที่อาจนำไปสู่การตัดสินใจด้านราคาผิดๆ ซึ่งจะลดมาร์จิ้น หรือทำให้สูญเสียเวลากับโอกาสการขายที่ได้ผลไม่คุ้มดังนั้น แทนที่จะลดค่าใช้จ่ายทั่วทั้งกลุ่ม บริษัทสามารถตัดสินใจใช้โปรแกรมการขายอย่างมีเหตุผล พร้อมรักษาระดับผลประกอบการที่ดีไว้ได้หลายแนวทาง อาทิ การประเมินรูปแบบความครอบคลุมการขายปัจจุบัน ช่วยให้บริษัทตัดสินใจว่าสูตรสนับสนุนการขายแบบใดมีประสิทธิภาพที่สุดสำหรับลูกค้าแต่ละกลุ่ม และสถานการณ์ที่แตกต่างกัน ก่อนจะมา ปรับสมดุลทรัพยากรที่ต้องใช้เพื่อบรรลุผลดังกล่าว ในทางปฏิบัติ แนวทางดังกล่าวหมายถึงการใช้ระบบออนไลน์สำหรับสั่งสินค้าใหม่ หรือให้พนักงานขายทางโทรศัพท์รับผิดชอบงานดูแลลูกค้าและการขายทั่วไป พร้อมกันนี้บริษัทควรวิเคราะห์สัดส่วนการชนะหรือแพ้ของการเจรจากับลูกค้าที่ยากๆ เพื่อตัดสินว่าการสนับสนุนการขายแบบใดมีประสิทธิภาพที่สุด และแบบใดมีส่วนช่วยน้อย และสามารถปรับลดได้ นอกจากนี้ การปรับปรุงกระบวนการหลังการขาย และสร้างระบบช่วยเหลือลูกค้าที่เหมาะสมจะสามารถลดค่าใช้จ่ายของบริษัทได้เช่นกันแนวทางเหล่านี้สามารถช่วยให้ผู้บริหารการตลาดและการขายสามารถระบุวิธีประหยัดต้นทุนได้อย่างมั่นใจ และรักษาบุคลากรและโปรแกรมที่มีส่วนโดยตรงต่อการทำกำไรของบริษัทไว้ได้ทั้งนี้ บริษัทที่เดินตามแผนกลยุทธ์ ที่เคยใช้สมัยเศรษฐกิจถดถอยในอดีตอาจไล่ล่าตลาดหรือภาคส่วนที่ดึงดูดใจน้อยลงเพราะภาวะชะลอตัวยุคนี้ แต่เน้นทุ่มทรัพยากรไปกับสื่อการตลาดแบบดั้งเดิม และพนักงานขายแนวหน้ามากเกินไป ดังนั้น เพื่อหลีกเลี่ยงความผิดพลาดราคาแพง ผู้บริหารการตลาดและการขายต้องประเมินและจัดอันดับความสำคัญ ของตลาดเชิงภูมิศาสตร์ ลูกค้า โฆษณา และฝ่ายขายใหม่ โดยสนใจสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไปเพราะวิกฤตศตวรรษที่ 21
เปิดกลยุทธ์ "นักการตลาด" ยุคใหม่ รับมือมหาวิกฤตยุคโลกาภิวัตน์ ท่ามกลางความซบเซาทางเศรษฐกิจ เหล่านักการตลาดและนักขายต่างถูกสั่งให้ทำอะไรๆ มากกว่าเดิม โดยใช้เม็ดเงินน้อยลง แต่ธรรมชาติของภาวะชะลอตัวปัจจุบัน ผนวกกับการเปลี่ยนแปลงทางการขายและการตลาดในช่วงถดถอยปี 2544-2545 ชี้ให้เห็นว่า คนที่อาศัยเทคนิคการอยู่รอดสมัยเศรษฐกิจชะลอตัวในอดีต อาจเสี่ยงไป เดิมพันในตลาด ลูกค้า เครื่องมือโฆษณา หรือการขายที่ผิดได้เช่นกันช่วงเศรษฐกิจชะลอตัวที่ผ่านมา นักการตลาดจำนวนมากทุ่มเงินไปกับกลุ่มลูกค้า ภูมิภาค และตลาดขนาดใหญ่ที่เคยทำกำไรในอดีต แต่วันนี้ แนวทางนั้นอาจไม่มีประสิทธิภาพ เพราะวิกฤตเศรษฐกิจโลกกำลังกระทบต่อลูกค้าและตลาดอย่างรุนแรงแบบไม่คาดคิดมาก่อน ดังนั้นนักการตลาดควรทิ้งความคาดหวังเก่า และหันมาเน้นกระเป๋าของลูกค้าใหม่บ้างโดยทั่วไปในช่วงรัดเข็มขัด นักการตลาดจะเน้นสื่อดั้งเดิม เช่น โฆษณาทางโทรทัศน์และหนังสือพิมพ์ พร้อมหั่นรายจ่ายในสื่อโฆษณาแบบใหม่ แต่การตลาดที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในทศวรรษที่ผ่านมา ซึ่งสื่อแบบเก่าเริ่มมีความสำคัญน้อยลง ขณะที่อินเทอร์เน็ตและเครือข่ายสังคม (social networking) เริ่มจับกลุ่มเป้าหมายได้มากยิ่งขึ้น ทำให้นักการตลาดที่ มุ่งจัดสรรงบฯด้านสื่ออย่างมีเหตุผล จำเป็นต้องนำสมดุลใหม่นี้ไปประกอบการตัดสินใจเมื่อต้องเดินแผนรัดเข็มขัด อย่างไรก็ตาม เดวิด คอร์ท ผู้อำนวยการแมคคินซีย์ สำนักงานดัลลัส ระบุในบทความเรื่อง "The Downturn"s New Rules for Marketers" ว่า แน่นอนว่า ไม่ใช่ว่าทุกอย่างจากอดีตจะล้าสมัยหรือ ไร้ประโยชน์ทั้งหมด แต่นักการตลาดจะต้องตรวจสอบและประเมินข้อเสนอทรงคุณค่าของแบรนด์ ผลิตภัณฑ์ และราคาใหม่ พร้อมกับบริหารต้นทุนของเอเยนซี่สื่อและ ผู้จัดจำหน่ายอย่างรอบคอบนอกจากนี้หากต้องการฟันฝ่าพายุเศรษฐกิจครั้งนี้ไปอย่างปลอดภัยพวกเขาจำเป็นต้องระบุว่าใครคือลูกค้าชั้นดี และอยู่ที่ไหน เพื่อเดินแผน การตลาดและการขายที่มีประสิทธิภาพที่สุดเพื่อเข้าถึงคนกลุ่มนี้ผลกระทบจากภาวะถดถอยมักแตกต่างกันตามเขตเศรษฐกิจต่างๆ เพราะอัตรา คนว่างในแต่ละภูมิภาคเพิ่มขึ้นต่างกัน และวิกฤตครั้งนี้กำลังกระทบพื้นที่และกลุ่มคนแตกต่างกันและซับซ้อนกว่าเดิมมาก มาดูว่า นักการตลาดยุคนี้ ต้องรับมือกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างไรบ้างปรับลำดับความสำคัญของตลาดเชิงภูมิศาสตร์ใหม่เหล่าบริษัทข้ามชาติจะต้องประเมิน คาดการณ์การเติบโตใหม่ในประเทศที่ต้องเข้าไปแข่งขัน บทความชิ้นนี้ยกตัวอย่างว่า บริษัทเทคโนโลยีระดับโลกรายหนึ่ง เพิ่งปรับที่มั่นใหม่ โดยโยกการใช้จ่ายการตลาดจากประเทศพัฒนาแล้วมายังตลาดเกิดใหม่ที่คาดว่าจะมีการเติบโตสูงกว่า และมีแรงกดดันทางการแข่งขันน้อยกว่า
ขณะเดียวกันนักการตลาดผู้บริโภคที่มีข้อมูลตลาดขนาดเล็ก จะมีโอกาสมากกว่าที่จะเพิ่มผลกำไร อย่างเช่น บริษัทเครื่องดื่มรายหนึ่ง เพิ่งสำรวจ เพื่อระบุความแตกต่างที่เหลื่อมล้ำกันของกลุ่มลูกค้าทำกำไร ทั้งในตลาดเฉพาะและตลาดขนาดเล็ก ซึ่งข้อมูลเหล่านี้จะช่วยให้บริษัทสามารถเพิ่มผลกำไรได้สูงสุด โดยเน้นตลาดขนาดเล็กที่มีความอ่อนไหวเรื่องราคาน้อย พร้อมกับเสนอส่วนลด หรือสินค้าราคาจูงใจ ในเขตอื่นๆ เพื่อกระตุ้นยอดขายจัดลำดับความสำคัญของกลุ่มลูกค้าใหม่การทำกำไรส่วนใหญ่ในภูมิภาคและตลาดขนาดเล็กต่างๆ เปลี่ยนแปลงไป ความผันผวนของอัตราคนว่างงาน ราคาหุ้น บ้าน และน้ำมัน เปลี่ยนแปลงการทำกำไรในกลุ่มผู้บริโภคต่างๆ ทั้งนี้ในหลายกรณี พบว่าการเปลี่ยนพฤติกรรมของ ผู้บริโภคกดดันให้บริษัทต้องปรับแผนการตลาดจากภาคส่วนที่เคยดึงดูดใจในอดีตใหม่ ขณะที่บางกลุ่มที่เคยเป็นลูกค้าที่สำคัญต่อการเติบโตของยอดขายกลับกลายเป็นกลุ่มที่บริษัททำกำไรได้น้อยลง เช่น เหล่ามืออาชีพรุ่นใหม่ที่จำนวนมากทำงานในธุรกิจการเงิน อาจไม่สามารถช่วยกระตุ้นยอดขายสินค้าหรูได้เหมือนในอดีตนอกจากนี้ ภาวะช็อกจากวิกฤตเศรษฐกิจ อาจปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้จ่ายและความน่าดึงดูดใจของลูกค้าบางกลุ่มเป็นช่วงนานกว่าเดิม เช่น คนรุ่นเบบี้บูมในสหรัฐ ญี่ปุ่น และยุโรปตะวันตก ที่ผ่านมาการใช้จ่ายสูงของคนกลุ่มนี้ทำให้พวกเขาเป็นกลุ่มลูกค้าชั้นดี ที่บริษัทต่างๆ ถวิลหา แต่วิกฤตอสังหาริมทรัพย์ และราคาหุ้นที่ร่วงลง ซึ่งส่งผลกระทบต่อบัญชีบำนาญของคนรุ่นนี้ ทำให้พวกเขาต้องรัดเข็มขัดมากขึ้น เพราะกำลังเผชิญกับอนาคตหลังเกษียณที่ไม่มั่นคง ทำให้ไม่สามารถใช้จ่ายมือเติบได้เหมือนเดิมจากผลสำรวจของแมคคินซีย์ เมื่อปี 2549 ที่ถามว่า เขาจะลดค่าใช้จ่ายลง 20% ได้อย่างไร พบว่าคนกลุ่มนี้จะลดการใช้จ่ายด้านเสื้อผ้า ของใช้ส่วนตัว ของตกแต่งบ้าน และการท่องเที่ยว เป็นอันดับต้นๆ แต่มีแนวโน้มปรับลดค่าใช้จ่ายในสิ่งจำเป็นอื่นๆ น้อย เช่น อาหาร บ้าน และสุขภาพ ปรับลำดับความสำคัญของโอกาส B2B บริษัทที่ทำธุรกิจแบบ B2B ต้องก้าวล้ำกว่าเดิม โดยจำเป็นต้องประเมินโอกาสและความเสี่ยงของลูกค้าเป็นรายๆ ไป เช่น กระแสเงินสด สภาพคล่อง และการเข้าถึงแหล่งทุนของลูกค้าแต่ละราย ดังนั้นจึงถึงเวลาที่บริษัทต้องเดินเกมรุก ไม่ว่าจะเป็นการควบคุมต้นทุน เจรจาเงินคืนภาษีใหม่ และกระตุ้นการสั่งซื้อสินค้าที่มีประสิทธิภาพ
ปรับลำดับความสำคัญของสื่อโฆษณาสื่อโฆษณาใหม่ เช่น อินเทอร์เน็ต เครือข่ายสังคม และโทรศัพท์มือถือ มีขอบข่ายใหญ่ขึ้น และสร้างผลลัพธ์ที่มี ประสิทธิภาพ ขณะที่สื่อร่วมสมัย เช่น โทรทัศน์ เริ่มมีอิทธิพลน้อยลง แต่ค่าใช้จ่ายสูงขึ้น ดังนั้นแผนการตลาดส่วนใหญ่จึงมุ่งตอบสนองเป้าหมายคุ้มค่าเงิน โดยอาศัยการผสมผสานของสื่อโฆษณาทั้งเก่าและใหม่ โดยจะใช้จ่ายงบฯราว 10-15% ไปกับโฆษณาผ่านสื่อแบบใหม่ทั้งนี้บริษัทสามารถเพิ่มความถูกต้อง ของการประเมินคุณภาพสื่อได้ด้วยการรวบรวมข้อมูลจากแหล่งต่างๆ เช่น สำรวจผู้บริโภคเชิงปริมาณ สำรวจความคิดเห็นโฟกัส กรุ๊ป หลังกิจกรรมการตลาดต่างๆ และการจัดเวิร์กช็อป รับฟังความคิดเห็นหลากหลายจากผู้จัดการฝ่ายการตลาด และผู้เชี่ยวชาญภายนอกจากวงการโฆษณาและเอเยนซี่สื่อ ที่ผ่านมา ยักษ์ใหญ่วงการสินค้าอุปโภคบริโภคส่วนหนึ่งที่จัดเวิร์กช็อป พบว่าข้อมูลจากส่วนนี้สอดคล้องกับข้อมูลที่เก็บจากการสำรวจเน้นปริมาณที่มุ่งหาข้อมูลเชิงลึกด้วยและไม่ว่าบริษัทจะได้ผลการประเมินคุณภาพสื่ออย่างไร อำนาจที่แท้จริงอยู่ที่การผนวกผลการวิเคราะห์เข้ากับข้อมูล การเข้าถึงลูกค้าและต้นทุนของสื่อโฆษณา เพื่อช่วยให้สามารถเปรียบเทียบอิทธิพล ของสื่อต่างๆ ได้อย่างชัดเจน ซึ่งเป็นกุญแจสำคัญของการจัดลำดับความสำคัญอย่างมีประสิทธิภาพปรับอันดับความสำคัญของบทบาทฝ่ายขายใหม่สิ่งที่เห็นกันเสมอในยุคเศรษฐกิจตกสะเก็ด ก็คือ บริษัทพยายามเพิ่มผลกำไร ด้วยการลดค่าใช้จ่ายต่างๆ ของฝ่ายขาย พร้อมเน้นความสำคัญของฝ่ายขายแนวหน้า แต่ทุกวันนี้ ทีมขายต้องอาศัยการสนับสนุนรูปแบบใหม่ ซึ่งมีความสำคัญมากเกินกว่าที่จะปรับลดโดยอำเภอใจ สิ่งเหล่านี้มีบทบาทเชิงกลยุทธ์ในกระบวนการขาย และมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการบริการลูกค้าทำกำไร และจูงใจลูกค้าใหม่ ดังนั้นผู้บริหารที่เดินแผนหั่นต้นทุนรวม โดยตั้งเป้าตัดรายจ่ายส่วนนี้ อาจเผชิญกับความเสี่ยงอย่างยิ่งที่จะทำลายประสิทธิภาพของฝ่ายขายเมื่อมาดูการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในบริษัทบริการอุตสาหกรรมแห่งหนึ่ง พบว่าเมื่อ 10 ปีก่อน 90% ของพนักงานขายต้องรับผิดชอบทั้งดูแลลูกค้าและลง พื้นที่ แต่มีการสนับสนุนค่อนข้างจำกัด ซึ่งอยู่ในรูปแบบของการฝึกอบรมการขาย แผ่นพับข้อมูลผลิตภัณฑ์ และผู้เชี่ยวชาญด้านผลิตภัณฑ์จำนวนหนึ่งเท่านั้น ต่อมาบริษัทได้เพิ่มผู้เชี่ยวชาญด้านผลิตภัณฑ์จำนวนอีกมาก เพราะลูกค้าต้องการรับความช่วยเหลือจากคนกลุ่มนี้มากขึ้น ขณะที่บริษัทมีไลน์สินค้าเพิ่มขึ้นเช่นกัน หลังจากนั้นบริษัทยังจ้างพนักงานเจรจาสัญญา ผู้จัดการฝ่ายขายเฉพาะอุตสาหกรรม ตลอดจนตัวแทนเทเล มาร์เก็ตติ้ง ซึ่งบุคลากรเหล่านี้ช่วยเพิ่มโอกาสใหม่ๆ แก่ธุรกิจแต่ในวิกฤตปัจจุบัน ผู้อำนวยการฝ่ายขายขององค์กรนี้จำเป็นต้องหั่นต้นทุนลง 10% การลดจำนวนผู้เชี่ยวชาญด้านผลิตภัณฑ์ ผู้จัดการอุตสาหกรรม และฝ่ายเทเลมาร์เก็ตติ้ง อาจทำให้การสร้างโอกาสใหม่ๆ ลดลง แต่ยอดขายจะลดฮวบมากกว่านั้น หากบริษัทตัดสินใจลดจำนวน พนักงานขายหรือผู้จัดการดูแลลูกค้า เช่นเดียวกับการลดทีมวิเคราะห์คู่แข่งและราคา ที่อาจนำไปสู่การตัดสินใจด้านราคาผิดๆ ซึ่งจะลดมาร์จิ้น หรือทำให้สูญเสียเวลากับโอกาสการขายที่ได้ผลไม่คุ้มดังนั้น แทนที่จะลดค่าใช้จ่ายทั่วทั้งกลุ่ม บริษัทสามารถตัดสินใจใช้โปรแกรมการขายอย่างมีเหตุผล พร้อมรักษาระดับผลประกอบการที่ดีไว้ได้หลายแนวทาง อาทิ การประเมินรูปแบบความครอบคลุมการขายปัจจุบัน ช่วยให้บริษัทตัดสินใจว่าสูตรสนับสนุนการขายแบบใดมีประสิทธิภาพที่สุดสำหรับลูกค้าแต่ละกลุ่ม และสถานการณ์ที่แตกต่างกัน ก่อนจะมา ปรับสมดุลทรัพยากรที่ต้องใช้เพื่อบรรลุผลดังกล่าว ในทางปฏิบัติ แนวทางดังกล่าวหมายถึงการใช้ระบบออนไลน์สำหรับสั่งสินค้าใหม่ หรือให้พนักงานขายทางโทรศัพท์รับผิดชอบงานดูแลลูกค้าและการขายทั่วไป พร้อมกันนี้บริษัทควรวิเคราะห์สัดส่วนการชนะหรือแพ้ของการเจรจากับลูกค้าที่ยากๆ เพื่อตัดสินว่าการสนับสนุนการขายแบบใดมีประสิทธิภาพที่สุด และแบบใดมีส่วนช่วยน้อย และสามารถปรับลดได้ นอกจากนี้ การปรับปรุงกระบวนการหลังการขาย และสร้างระบบช่วยเหลือลูกค้าที่เหมาะสมจะสามารถลดค่าใช้จ่ายของบริษัทได้เช่นกันแนวทางเหล่านี้สามารถช่วยให้ผู้บริหารการตลาดและการขายสามารถระบุวิธีประหยัดต้นทุนได้อย่างมั่นใจ และรักษาบุคลากรและโปรแกรมที่มีส่วนโดยตรงต่อการทำกำไรของบริษัทไว้ได้ทั้งนี้ บริษัทที่เดินตามแผนกลยุทธ์ ที่เคยใช้สมัยเศรษฐกิจถดถอยในอดีตอาจไล่ล่าตลาดหรือภาคส่วนที่ดึงดูดใจน้อยลงเพราะภาวะชะลอตัวยุคนี้ แต่เน้นทุ่มทรัพยากรไปกับสื่อการตลาดแบบดั้งเดิม และพนักงานขายแนวหน้ามากเกินไป ดังนั้น เพื่อหลีกเลี่ยงความผิดพลาดราคาแพง ผู้บริหารการตลาดและการขายต้องประเมินและจัดอันดับความสำคัญ ของตลาดเชิงภูมิศาสตร์ ลูกค้า โฆษณา และฝ่ายขายใหม่ โดยสนใจสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไปเพราะวิกฤตศตวรรษที่ 21
6 วิธีถนอมความจำให้ดีไปนานๆ โดย นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์
อาจารย์เพิร์ลส์เป็นอาจารย์หมอผู้เชี่ยวชาญด้วย ถ่ายภาพเก่งด้วย ดูจากภาพก็รู้แล้วว่า อาจารย์หมอเพิร์ลส์กล่าวว่า วิธีลดเสี่ยง (โอกาสเป็นโรค) สมองเสื่อม เช่น อัลไซเมอร์ ฯลฯ ที่ได้ผลจากการศึกษาวิจัยอย่างเป็นระบบได้แก่
(1). ออกแรง-ออกกำลังเป็นประจำ
(2). มีปฏิสัมพันธ์หรือความสัมพันธ์ (interactions) กับคนอื่นๆ ในสังคม (รู้จักเลือก และเข้าร่วมกิจกรรมสังคม) โดยมีการพบปะ
สังสรรค์ และร่วมกิจกรรมกับ "กลุ่ม (แก๊งค์ / ก๊วน) ขาประจำ" อย่างสม่ำเสมอ
(3). อ่านหนังสือ หรืออ่านบล็อกดีๆ ก็ได้
(4). มีงานอดิเรกที่ใช้สมอง เช่น หมากรุก เกมส์ปริศนาอักษรไขว้ (crosswords) ฯลฯ
(5). ออกกำลังสมอง เช่น เล่นดนตรี ใช้มือข้างที่ไม่ถนัดทำงานบ้าง (เช่น ลองใช้มือที่ไม่ถนัดถือช้อน ใช้มือที่ถนัดถือส้อม ฯลฯ)
(6). ไม่ดื่มเหล้า เบียร์ ไวน์ หรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มากเกิน (ดื่มมากทำลายสมอง และเพิ่มเสี่ยงอุบัติเหตุ) ......
ทีนี้อะไร "ได้ผลรองลงไป" คำตอบคือ
(1). แอสไพริน เรื่องนี้คงต้องปรึกษาหมอที่ดูแลท่านก่อนว่า มีข้อห้ามหรือไม่
(2). วัดความดันเลือด ตรวจโคเลสเตอรอลชนิดร้าย (LDL) และไขมันไตรกลีเซอไรด์ ถ้าสูงต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรม (ไลฟ์สไตล์) โดยเฉพาะลดอาหารสำเร็จรูป (เกลือสูง) อาหารผัดๆ ทอดๆ (ไขมันสูง) อาหารหรือเครื่องดื่มเติมน้ำตาล (ทำให้ไขมันในเลือดสูงได้) ลดอาหารประเภทแป้งลงประมาณ 1 ใน 3 ลดผลไม้ (ถ้ากินผลไม้มากเกิน) งดน้ำผลไม้ เพิ่มผัก-ถั่ว กินปลาทะเลที่ไม่ผ่านการทอดสัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง และอาจต้องใช้ยาต่อเนื่อง
(3). ตรวจโคเลสเตรอลชนิดดี (HDL) ถ้า HDL ต่ำต้องออกแรง-ออกกำลัง ลดอาหารผัดๆ ทอดๆ และใช้น้ำมันพืชชนิดดี เช่น น้ำมัน
รำข้าว น้ำมันคาโนลา น้ำมันถั่วลิสง น้ำมันมะกอก (น้ำมันมะกอกไม่เหมาะกับการทอดอาหาร ใช้ทำสลัดได้ดี) ฯลฯ การเพิ่ม HDL ยังไม่มี
วิธีอื่นดีไปกว่าการออกกำลัง ซึ่งวิธีที่ทำได้ง่ายๆ คือ เดินเร็ว + เดินขึ้นลงบันไดตามโอกาส
(4). ไม่สูบบุหรี่ และไม่หายใจเอาควันบุหรี่ที่คนอื่นสูบเข้าไป ถ้าสูบควรเลิก หรือลดลงอย่างน้อยครึ่งหนึ่ง
(5). ควบคุมน้ำหนัก ระวังอย่าให้น้ำหนักเกินหรืออ้วน ถ้าน้ำหนักเกินไปแล้ว... ขั้นแรกให้ฟิตร่างกาย เพื่อเปลี่ยนจาก "อ้วนไม่ฟิต" เป็น
"อ้วนฟิต" ก่อน หลังจากนั้นให้ควบคุมอาหารด้วย ออกกำลังด้วย เพื่อเปลี่ยนจาก "อ้วนฟิต" เป็น "อ้วนน้อยฟิต" หรือ "ผอมฟิต" ต่อไป
(6). ตรวจหาระดับน้ำตาลในเลือด ถ้าเป็นเบาหวานหรือภาวะก่อนเบาหวาน ต้องรีบปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต (ลดแป้ง ลดน้ำตาล ลดขนม ลดข้าว งด
น้ำผลไม้ เพิ่มผัก เพิ่มถั่ว ออกแรง-ออกกำลัง) และรักษาให้ต่อเนื่อง และอย่าลืม... เปลี่ยนข้าวขาวเป็นข้าวกล้อง ...... อะไรที่ "ไม่ได้ผล" คือ
การดู TV, แปะก๊วย (Ginko), วิตามิน E, วิตามิน C, น้ำโกกิ (Gogi juice), นมเกลเชียล (Glacial milk), กระเทียม (Garlic)
สรุปง่ายๆ คือ บรรดาอาหารเสริมทั้งหลายนั้น "ไม่ได้ผล" ที่ได้ผลดีคือ อาหารเสริมที่ชื่อ "ปลากระป๋อง" ถูกแพงไม่เกี่ยง แต่ต้องเลือกปลากระป๋องที่ไม่ผ่านการทอด เช่น ปลากระป๋องในซอสมะเขือเทศ ฯลฯ ..
ถึงตรงนี้... ขอให้พวกเรามีความจำดีและสุขภาพดีไปนานๆ และขอส่งความสุขปีใหม่แด่ท่านผู้อ่านทุกท่าน ด้วยนะคะ...
แบบทดสอบสมองลองเชาวน์
ท่านผู้อ่านเห็นภาพของอาจารย์หมอพอลส์แล้วใช่ไหมคะ เห็นอะไร "ข้างในภาพ" ไหม
ถ้าเห็นแล้วเก่งมากๆ ... ถ้ายังไม่เห็นก็อย่าเพิ่งตกใจ
ข้างในมีภาพ "คนยกน้ำหนัก" ใช่แล้ว... การออกกำลังเป็นประจำช่วยให้ความจำดีขึ้นนั่นเอง
(1). ออกแรง-ออกกำลังเป็นประจำ
(2). มีปฏิสัมพันธ์หรือความสัมพันธ์ (interactions) กับคนอื่นๆ ในสังคม (รู้จักเลือก และเข้าร่วมกิจกรรมสังคม) โดยมีการพบปะ
สังสรรค์ และร่วมกิจกรรมกับ "กลุ่ม (แก๊งค์ / ก๊วน) ขาประจำ" อย่างสม่ำเสมอ
(3). อ่านหนังสือ หรืออ่านบล็อกดีๆ ก็ได้
(4). มีงานอดิเรกที่ใช้สมอง เช่น หมากรุก เกมส์ปริศนาอักษรไขว้ (crosswords) ฯลฯ
(5). ออกกำลังสมอง เช่น เล่นดนตรี ใช้มือข้างที่ไม่ถนัดทำงานบ้าง (เช่น ลองใช้มือที่ไม่ถนัดถือช้อน ใช้มือที่ถนัดถือส้อม ฯลฯ)
(6). ไม่ดื่มเหล้า เบียร์ ไวน์ หรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มากเกิน (ดื่มมากทำลายสมอง และเพิ่มเสี่ยงอุบัติเหตุ) ......
ทีนี้อะไร "ได้ผลรองลงไป" คำตอบคือ
(1). แอสไพริน เรื่องนี้คงต้องปรึกษาหมอที่ดูแลท่านก่อนว่า มีข้อห้ามหรือไม่
(2). วัดความดันเลือด ตรวจโคเลสเตอรอลชนิดร้าย (LDL) และไขมันไตรกลีเซอไรด์ ถ้าสูงต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรม (ไลฟ์สไตล์) โดยเฉพาะลดอาหารสำเร็จรูป (เกลือสูง) อาหารผัดๆ ทอดๆ (ไขมันสูง) อาหารหรือเครื่องดื่มเติมน้ำตาล (ทำให้ไขมันในเลือดสูงได้) ลดอาหารประเภทแป้งลงประมาณ 1 ใน 3 ลดผลไม้ (ถ้ากินผลไม้มากเกิน) งดน้ำผลไม้ เพิ่มผัก-ถั่ว กินปลาทะเลที่ไม่ผ่านการทอดสัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง และอาจต้องใช้ยาต่อเนื่อง
(3). ตรวจโคเลสเตรอลชนิดดี (HDL) ถ้า HDL ต่ำต้องออกแรง-ออกกำลัง ลดอาหารผัดๆ ทอดๆ และใช้น้ำมันพืชชนิดดี เช่น น้ำมัน
รำข้าว น้ำมันคาโนลา น้ำมันถั่วลิสง น้ำมันมะกอก (น้ำมันมะกอกไม่เหมาะกับการทอดอาหาร ใช้ทำสลัดได้ดี) ฯลฯ การเพิ่ม HDL ยังไม่มี
วิธีอื่นดีไปกว่าการออกกำลัง ซึ่งวิธีที่ทำได้ง่ายๆ คือ เดินเร็ว + เดินขึ้นลงบันไดตามโอกาส
(4). ไม่สูบบุหรี่ และไม่หายใจเอาควันบุหรี่ที่คนอื่นสูบเข้าไป ถ้าสูบควรเลิก หรือลดลงอย่างน้อยครึ่งหนึ่ง
(5). ควบคุมน้ำหนัก ระวังอย่าให้น้ำหนักเกินหรืออ้วน ถ้าน้ำหนักเกินไปแล้ว... ขั้นแรกให้ฟิตร่างกาย เพื่อเปลี่ยนจาก "อ้วนไม่ฟิต" เป็น
"อ้วนฟิต" ก่อน หลังจากนั้นให้ควบคุมอาหารด้วย ออกกำลังด้วย เพื่อเปลี่ยนจาก "อ้วนฟิต" เป็น "อ้วนน้อยฟิต" หรือ "ผอมฟิต" ต่อไป
(6). ตรวจหาระดับน้ำตาลในเลือด ถ้าเป็นเบาหวานหรือภาวะก่อนเบาหวาน ต้องรีบปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต (ลดแป้ง ลดน้ำตาล ลดขนม ลดข้าว งด
น้ำผลไม้ เพิ่มผัก เพิ่มถั่ว ออกแรง-ออกกำลัง) และรักษาให้ต่อเนื่อง และอย่าลืม... เปลี่ยนข้าวขาวเป็นข้าวกล้อง ...... อะไรที่ "ไม่ได้ผล" คือ
การดู TV, แปะก๊วย (Ginko), วิตามิน E, วิตามิน C, น้ำโกกิ (Gogi juice), นมเกลเชียล (Glacial milk), กระเทียม (Garlic)
สรุปง่ายๆ คือ บรรดาอาหารเสริมทั้งหลายนั้น "ไม่ได้ผล" ที่ได้ผลดีคือ อาหารเสริมที่ชื่อ "ปลากระป๋อง" ถูกแพงไม่เกี่ยง แต่ต้องเลือกปลากระป๋องที่ไม่ผ่านการทอด เช่น ปลากระป๋องในซอสมะเขือเทศ ฯลฯ ..
ถึงตรงนี้... ขอให้พวกเรามีความจำดีและสุขภาพดีไปนานๆ และขอส่งความสุขปีใหม่แด่ท่านผู้อ่านทุกท่าน ด้วยนะคะ...
แบบทดสอบสมองลองเชาวน์
ท่านผู้อ่านเห็นภาพของอาจารย์หมอพอลส์แล้วใช่ไหมคะ เห็นอะไร "ข้างในภาพ" ไหม
ถ้าเห็นแล้วเก่งมากๆ ... ถ้ายังไม่เห็นก็อย่าเพิ่งตกใจ
ข้างในมีภาพ "คนยกน้ำหนัก" ใช่แล้ว... การออกกำลังเป็นประจำช่วยให้ความจำดีขึ้นนั่นเอง
29 ธันวาคม 2551
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)