16 มกราคม 2552

Supply Chain ห่วงโซ่อุปทาน

คือ การปฏิสัมพันธ์ของการใช้ระบบของหน่วยงาน คน เทคโนโลยี กิจกรรม ข้อมูลข่าวสาร และทรัพยากร เพื่อการเคลื่อนย้ายสินค้าหรือบริการ จากผู้จัดหาหรือผู้ผลิตไปยังลูกค้า กิจกรรมของห่วงโซ่อุปทานจะแปรสภาพทรัพยากรธรรมชาติ วัตถุดิบ และวัสดุอื่นๆให้กลายเป็นสินค้าสำเร็จ แล้วส่งไปจนถึงลูกค้าคนสุดท้าย ในเชิงปรัชญาของห่วงโซ่อุปทานนั้น วัสดุที่ถูกใช้แล้ว อาจจะถูกนำกลับมาใช้ใหม่ที่จุดไหนของห่วงโซ่อุปทานก็ได้ ซึ่งจะประกอบไปด้วย กระบวนการวางแผนการผลิต และกิจกรรมทางการตลาด หรือกล่าวได้อีกนัยหนึ่งว่า Supply Chain ก็คือ การผลิตสินค้าและบริการอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า ที่ต้องการวัตถุดิบหรือชิ้นส่วนจากผู้ขายมาเป็นปัจจัยนำเข้าเพื่อให้ฝ่ายผลิตใช้ ทำการผลิตให้เป็นสินค้าสำเร็จรูปแล้วส่งให้ลูกค้า ซึ่งกิจกรรมการป้อนวัตถุดิบ กิจกรรมการแปรสภาพ และกิจกรรมการจัดจำหน่ายสินค้าสำเร็จรูปแก่ลูกค้าได้บังเกิดขึ้นในเครือข่ายที่โยงใยหลายกิจการมาเกี่ยวข้องกัน โดยมีการดำเนินการต่อเนื่องกัน โดยทั่วไปแล้วจุดเริ่มต้นของห่วงโซ่มักจะมาจากทรัพยากรธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็นทรัพยากรทางชีววิทยาหรือนิเวศวิทยา ผ่านกระบวนการแปรรูปโดยมนุษย์ผ่านกระบวนการสกัด และการผลิตที่เกี่ยวข้อง เช่น การก่อโครงร่าง, การประกอบ หรือการรวมเข้าด้วยกัน ก่อนจะถูกส่งไปยังโกดัง หรือคลังวัสดุ โดยทุกครั้งที่มีการเคลื่อนย้าย ปริมาณของสินค้าก็จะลดลงทุกๆครั้ง และไกลกว่าจุดกำเนิดของมัน และท้ายที่สุดก็ถูกส่งไปถึงมือผู้บริโภค

ห่วงโซ่อุปทาน ประกอบด้วย

1. ผู้จัดจ่ายวัตถุดิบ/ส่วนประกอบ (Raw Material/ component suppliers) เช่น เกษตรกรที่ปลูกมันสำปะหลัง หรือ ปาล์ม
2. ผู้ผลิต (Manufacturers) เช่น โรงงานที่รับมันสำปะหลังมาแปรรูป มาเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ
3. ผู้ค้าส่ง/ผู้กระจายสินค้า (Wholesalers/distributors) คือ ผู้ที่นำสินค้ามาขายให้ผู้บริโภค หรือส่งต่อให้ผู้ค้าปลีก
4. ผู้ค้าปลีก (Retailers) คือ พ่อค้าที่นำสินค้าหรือบริการที่รับซื้อมาจากผู้ค้าส่งมาขายต่อให้ผู้บริโภค
5. ผู้บริโภค (Customers)

กิจกรรมหลักของห่วงโซ่อุปทาน คือ
1. การจัดหา 2. การขนส่ง 3. การจัดเก็บ 4. การกระจายสินค้า


ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อ Supply Chain
1. การลดลงของจำนวนผู้จำหน่าย
2. การเพิ่มขึ้นของการแข่งขัน
3. ระยะเวลาที่สิ้นลงของวงจรชีวิตของสินค้า
4. การเพิ่มขึ้นของผู้จัดการสิ้นค้าคงคลัง
5. การเพิ่มขึ้นของการส่งสินค้าคงคลัง
6. ความเจริญก้าวหน้าของเทคโนโลยี
7. การลดลงของความเสี่ยง
อ้างอิงจาก วีกิพีเดีย,การจัดการอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง,V-servegroup โดยคุณธนิต โสรัตน์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น